การฟรีโมชั่น จริงๆแล้ว.. มันแทบไม่ต่างกับเราจับดินสอวาดรูปเลยค่ะ
มันสามารถบังคับทิศทางได้อย่างอิสระ ..ใช้ปลายเข็มให้เหมือนปลายดินสอ หลอดด้ายเหมือนดินสอสี
แล้วก็วาดตามใจนึกเลยค่ะ („ᵕᴗᵕ„)
การฟรีโมชั่นมีทั้งแบบ “เย็บติดไปกับเศษผ้าปะติด” และ “เย็บแบบใช้เส้นด้ายอย่างเดียว”
เรามาดูดีเทลกันชัดๆไปเลยละกันเนอะ
รูปบนเป็นการฟรีโมชั่นแบบใช้ผ้าปะติด รูปล่างเป็นการฟรีโมชั่นแบบใช้เส้นด้ายล้วน
กาฟรีโมชั่นแบบใช้ด้ายเย็บล้วน ตัวชิ้นงานมันก็จะมีฟีลเหมือนเราเย็บมือหน่อยๆ หรือบางคนคิดว่ามันคือจักรปัก 555
แต่เรารู้สึกว่ามันเหมือนการเย็บมือที่มีเครื่องจักรช่วย ทำให้ย่นเวลาในการเย็บไปได้
(ღ˘⌣˘ღ)
– อยากเก็บชิ้นงานไว้แบบน่ารักๆ เก็บแบบไหนดีนะ?
วันนี้หยกมีวิธีเก็บชิ้นงานมาเสนอ โชว์ได้ เก็บได้ เรียบอีกด้วย –
เอาชิ้นงานที่ฟรีโมชั่นแล้วมาขึงสะดึง ให้มันดูเป็นชิ้นเป็นอัน เอาไปแขวนตกแต่งน่ารักๆก็ได้
– ลองเปลี่ยนลายเส้นที่ละเอียดๆดู ก็เย็บได้นะคล่องดีนะ อันนี้เทียบกับแบบวาดให้ดูเลย อาจจะไม่ตรงเป๊ะ แต่ไม่เป็นไร.. เราถือคติของแบบนี้มันคือศิลปะ 5555-
.. แล้วจักรเย็บผ้ารุ่นไหนที่สามารถสร้างชิ้นงานแบบนี้ได้บ้าง ?
คำตอบคือ..จักรทุกรุ่นของ Brother สามารถทำได้นะคะ
เพียงแต่ต้องมีตัวช่วยเสริมนั่นก็คือ “ตีนผี Freemotion” หรือ “ตีนผี Quilting Foot”
ถ้าจะให้แนะนำจักร เราว่าจักรคอมพิวเตอร์จะสะดวกที่สุดค่ะ มันค่อนข้าเหมาะกับงานแบบนี้ในหลายๆด้าน
เพราะเราสามารถปรับฟันจักรลงได้ทำให้เย็บได้ลื่นไหล และยังปรับระดับความเร็วลงได้
จักรคอมพิวเตอร์มีหลายรุ่นค่ะ เช่น รุ่น FS-50, FS-101, NV-980D มิกกี้, NV-980K คิตตี้
– อย่างรุ่นที่หยกใช้ทำชิ้นงานพวกนี้จะเป็น FS-50 ค่ะ
ส่วนจักรระบบแมคคนิคก็พอใช้ได้นะคะ แต่จะไม่ค่อยสมูทเท่าจักรคอมพิวเตอร์ เช่น รุ่น GS-3700P, GS-2700, GS-2786K, AS2730S
**แต่จักรรุ่นที่ใช้ไม่ได้เลย คือ รุ่น JS-1410 , รุ่น AS1430S และรุ่น JV1400
by mimyok.
📌 ของมันต้องมีในงานเย็บ…มีกันหรือยัง ❓❓